วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ไอทีกับการบริหารสนามบินสุวรรณภูมิ

AIMS ( Airport Information Management System )


ระบบการบริหารจัดการาของสนามาบินสุวรรณภูมิถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันผ่านทางเทคโนโลยีที่เรียนกว่า AIMS ( Airport Information Management System ) ซึ่งครอบคลุมถึง 45 ระบบและทุกระบบทำงานแบบ Real Time Interactive และ Internet-based ประกอบด้วย
  1. ระบบบริหารข้อมูลสายการบิน FIMS ( Flight Information Management System ) การจัดการเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของสายการบินทั้งเที่ยวไปและกลับ โดยเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลองค์กรสากล สนามบินและสายการบินต่างๆ
  2. ระบบฐานข้อมูลการปฏิบัติการสนามบิน AODB ( Airport Operations Database ) คือ ระบบฐานข้อมูลที่ได้มาจากาการเชื่อมโยงระบบย่อยต่างๆ ในสนามบิน เพื่อใช้ในการสังเกตการณ์ การวางแผน การจัดการ การควบคุม ตลอดจนการตัดสินใจ
  3. ระบบฐานข้อมูลบริหารสนามบิน AMBD ( Airport Management Database ) คือ ระบบฐานข้อมูลที่ได้มาจากการบริหาร งานธุรการ งานพาณิชย์ ตลอดจนการเงิน และบางส่วนจาก AODB
  4. ระบบรายได้ของสนามบิน Airport Billing System ( Including Aviation & Non-aviation ) คือ ระบบที่รับรู้รายได้ทั้งหมดของสนามบิน โดยระบบจะทำการพิมพ์ใบแจ้งหนี้พร้อมทั้งตั้งหนี้เพื่อรอการเก็บเงิน
  5. ระบบเน็ตเวิร์คและส่วนเชื่อมสื่อสาร AIMS Network backbone including Gateway เป็นการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ภายในอาคารต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล
  6. ระบบ LAN เพื่อการสื่อสารข้อมูล AIMS ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับติดตั้งในอาคาร AIMS
  7. ศูนย์ควบคุมปฏิบัติการสนามบิน AOC ( Airport Operation Center) คือ ระบบตรวจตรา ควบคุมอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในทุกระบบของสนามบิน โดยครอบคลุมถึงการปฏิบัติการด้านภาคพื้นอากาศ ภาคพื้นดิน อาคารผู้โดยสารและระบบความปลอดภัยในสนามบิน
  8. ศูนย์ควบคุมการเกิดวินาศกรรม CCC ( Crisis Control Center ) คือ ระบบที่ใช้ในห้องควบคุมและบัญชาการเมื่อมีวิกฤตกรณ์ต่างๆ เช่น การปล้นเครื่องบิน การก่อวินาศกรรมในบริเวณสนามบิน เป็นต้น
  9. ศูนย์ควบคุมรักษาความปลอดภัย SCC ( Security Control Center ) เช่น ระบบกล้องวงจรปิด ( CCTV ) ควบคุมอาคาร ( Building Automation System ) เป็นต้น
  10. ศูนย์ควบคุมและบริหารระบบเน็ตเวิร์ค NMC ( Network Management Center ) คือ ระบบควบคุมและจัดการระบบเครือข่ายในระบบ AIMS LAN, AIMS network backbone, PTC LAN
  11. ศูนย์ควบคุมอาคาร Central BAS ( Building Automation System ) คือ ระบบที่ติดตั้งในห้อง AOC และ CCC เป็นศูนย์กลางในการตรวจสอบ การควบคุมและการจัดการระบบ Facility เช่น ระบบลิฟต์ ระบบเครื่องปรับอากาศ ของอาคารต่างๆ ที่อยู่ในสนามบิน
  12. ระบบกล้องวงจรปิดภายนอก และการเชื่อมต่อกับศูนย์ควบคุมส่วนกลาง External CCTV Plus Central CCTV integration เพื่อใช้ในระบบรักษาความปลอดภัยในบริเวณต่างๆ ของสนามบิน
  13. ศูนย์ควบคุมระบบอัคคีภัย Central FDA ( Fire Detection and Alarm ) คือระบบที่ติดตั้งในห้อง AOC และ SCC เป็นศูนย์กลางในการตรวจสอบสัญญาณและแจ้งเตือนไฟไหม้ของระบบ FDA ที่ติดตั้งในอาคารต่างๆ
  14. ศูนย์การระบบแจ้งเวลา Central Clock System คือ ระบบมาตรฐานสัญญาณนาฬิกาที่ใช้อ้างอิงสำหรับนาฬิกาอิเลคทรอนิคส์ที่ติดตั้งในอาคารต่างๆ และนาฬิกาที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้มีเวลาตรงกัน
  15. ศูนย์กลางระบบ SCADA ( Central SCADA System ) คือระบบที่ติดตั้งในห้อง AOC และ SCC เป็นศูนย์กลางในการตรวจสอบ การควบคุม และการจัดการระบบจ่ายน้ำประปา ระบบจ่ายไฟฟ้า ภายในอาคารต่างๆ
  16. ศูนย์กลางระบบความปลอดภัยและรหัสผ่านเข้า-ออก Central CASS ( Controlled Access Security System ) เพื่อควบคุมการผ่านเข้าออกประตูห้องภายในบริเวณอาคารต่างๆ ของสนามบิน
  17. ส่วนงานเชื่อมต่อกับศูนย์การควบคุมจราจร Interface/Integration work with Traffic Control System คือ ระบบที่ใช้เชื่อมโยงระบบ AIMS กับระบบศูนย์ควบคุมการจราจรของพาหนะต่างๆ เช่น ระบบ Sign board display
  18. ระบบบริการข้อมูล Information KIOSK ซึ่งเป็นตู้แสดงผลทางด้านข้อมูลแก่ผู้โดยสารเกี่ยวกับข้อมูลเที่ยวบิน ข้อมูลสนามบิน แผนผังสนามบิน ข้อมูลสายการบิน แหล่งร้านค้า ร้านอาหาร การเดินทาง เป็นต้น
  19. ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล Human Resource Management System ครอบคลุมตั้งแต่การรับสมัคร การบริหารบุคคล เงินเดือน การบันทึกเวลาทำงาน
  20. ระบบบริหารบัญชีและการเงิน Financial Account Management System การบริหารบัญชีทั่วไป บัญชีลูกหนี้ บัญชีเจ้าหนี้ บัญชีทรัพย์สินถาวร การเงิน งบประมาณ ภาษี
  21. ระบบการจัดเก็บรายได้สนามบิน Revenue Collection Management System เป็นการจัดเก็บรายได้ทั้งหมดของสนามบินที่เกี่ยวและไม่เกี่ยวกับ การบิน
  22. ส่วนงานเชื่อมต่อระบบย่อย ณ อาคารผู้โดยสาร Interface/Integration work with PTC sub-system โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งไปเก็บใน AODB และ AMDB และบางส่วนก็จะส่งกลาบไปยังระบบย่อยต่างๆ ในอาคารผู้โดยสาร
  23. ส่วนงานเชื่อมต่อระบบย่อยการซ่อมบำรุงสนามบิน Interface/Integration work with AMF Sub-system ( Airport Maintenance Facility )
  24. ส่วนงานเชื่อมต่อระบบย่อยการควบคุมการบินทางอากาศ Interface/Integration work with ATC Sub-System ( Air Trafic Control )
  25. ส่วนงานเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์สายการบิน Interface/Integration work with Airline Host Computer & OAG Network (Offcial Airline Guide )
  26. การฝึกอบรม Training แก่พนักงาน ในส่วนที่ปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับทุกระบบของ AIMS เพื่อที่จะสามารถนำสิ่งที่ได้รับการฝึกสอนไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
  27. One year Operation & Maintenance Service and two years defect liability Maintenance Service คือ การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับ AIMS โดยผู้รับเหมาเป็นเวลา 1 ปี และบริการซ่อมบำรุงระยะเวลา 2 ปี โดยเตรียมบุคลากรให้เพียงพอต่อการดำเนินการ และถ่ายทอดความรู้ให้พนักงานในสนามบินสุวรรณภูมิ
  28. ระบบคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ในการจัดการผู้โดยสารและสัมภาระ CUTE including PBRS ( Passenger Baggage Reconciliation System ) & LDCS ( Local Departure Control System )
  29. ระบบแสดงผลข้อมูลและแผนภูมิ AIMS View System เพื่อใช้ในการสังเกตการณ์และตรวจสอบติดตาม ควบคุม วางแผน และตัดสินใจ
  30. ระบบบริหารการเข้าจอดของเครื่องบิน ณ อาคารผู้โดยสาร Ramp Service Management System เช่น ระบบนำร่องเข้าจอด ( VDGS ) ระบบสายพานผู้โดยสาร ( PLB ) ระบบกำลังไฟบนภาคพื้นดิน ( 400Hz) เป็นต้น
  31. ระบบการจำหน่ายตั๋วและการเช็คอิน On-line Ticketing & Check-in คือ ระบบที่เชื่อมต่อกับระบบการขายตั๋วของสนามบินต่างๆ
  32. ส่วนงานเชื่อมต่อกับระบบย่อยของหน่วยงานของรัฐ Interface work with Government Agency Sub-System คือ ระบบงานที่เชื่อมต่อกับระบบงานของหน่วยงานของรัฐในสนามบิน เช่น การตรวจคนเข้าเมือง และภาษีศุลกากร
  33. ส่วนงานเชื่อมต่อกับระบบย่อยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Interface work with Facilitz System of Privatization Packages คือระบบที่เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานที่มีการติดต่อทางธุรกิจกับสนามบิน
  34. ส่วนงานเชื่อมต่อกับงานศุลกากร Interface work with Facility System of Custom Free Zone
  35. ห้องทดลองและจำลองประสิทธิภาพอุปกรณ์ต่างๆ ก่อนการติดตั้ง BTL ( Benchmark tesing Laboratory ) ทั้งนี้รวมถึงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทั้งอุปกรณ์และระบบโปรแกรมประยุกต์
  36. ระบบบันทึกและตรวจสอบการบำรุงรักษา Facility Management System ( Facility Inventory Management, Cable Convention System )
  37. ระบบบริหารพื้นที่จอดรถ Car Parking Management System เพื่อบริหารจัดการเกี่ยวกับพื้นที่จอดรถที่ให้เช่าทั้งระยะสั้นและยาว
  38. ระบบการจัดซื้อและจัดจ้าง Procurement Management System ที่ครอบคลุมถึงการรับสินค้า สินค้าคงคลัง พื้นที่จัดเก็บ การกระจายและขนส่งตลอดจนการจ่ายเงิน
  39. ระบบบริหารทรัพย์สินและพื้นที่เช่า Assets Management System คือ ระบบควบคุมและบริหารทรัพย์สินโดยเฉพาะพื้นที่และห้องต่างๆ ที่ให้เช่าในเชิงพาณิชย์รวมทั้งการบริหาร และจัดการเกี่ยวกับผู้เช่าตลอดจนสัญญาต่างๆ
  40. ระบบบริหารร้านค้าและเครื่องชำระเงิน Concession Management System with POS คือ ระบบบริหารและจัดการเกี่ยวกับสัมปทานการขายของในสนามบิน รวมทั้งสินค้าปลอดภาษี เป็นต้น
  41. ส่วนงานเชื่อมต่อระบบตรวจสอบสภาพสิ่งแวดล้อม Interface/Integration work with Environmental Monitoring System เพื่อได้มาซึ่งข้อมูลด้านเสียงและสภาพแวดล้อมทั่วๆ ไป ในบริเวณสนามบินตลอดจนพื้นที่ใกล้เคียง
  42. การบริหารเว็บเพจ Web Page Service คือ ระบบการบริการข้อมูลของสนามบินสุวรรณภูมิบนอินเทอร์เน็ต โดยประกอบรายละเอียดทุกอย่างเกี่ยวกับสนามบินสุวรรณภูมิ ร้านค้าปลอดภาษี เป็นต้น
  43. ระบบการทำงานธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต E-Business คือ ระบบที่สามารถทำธุรกรรมกับสนามบินสุวรรณภูมิบนอินเทอร์เน็ต ตลอดจนซื้อสินค้าปลอดภาษี
  44. ระบบการทดสอบและจำลอง Simulation Program ที่อาจเกิดขึ้นได้ในสนามบินเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจ การวิเคราะห์และวางแผน
  45. ส่วนงานเชื่อมต่อระบบเน็ตเวิร์ค Interface/Integration work with AOT Network คือ ระบบเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงระบบ AIMS เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย

โรงเบียร์ก็ต้องมีไอที

แม้ว่าส่วนตัวสุพจน์ ธีระวัฒนชัย กรรมการผู้จัดการบริษัทโรงเบียร์ตะวันแดง แทบไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์มาก่อน แต่เมื่อต้องมาเป็นเจ้าของกิจการร้านอาหารขนาดใหญ่ ระบบไอทีกลับไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่สำหรับเขา เพราะคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่ทำให้เขาสามารถบริหารร้านอาหารขนาดใหญ่ ที่มีลูกค้าไม่ต่ำกว่าวันละ 2,000-3,000 ราย
"ร้านอาหาร ถ้าบริการไม่ดี อาหารมาช้า ต้องรอกันเป็นชั่วโมง ต่อให้อร่อยยังไงก็ไม่เอา" สุพจน์บอก
นี่เองที่ทำให้สุพจน์มองหาเครื่องมือมาช่วยให้ร้านอาหาร สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในทุกๆ ด้าน ไม่เพียงแค่เบียร์ที่กลั่นกันสดๆ กลางร้านตามสูตรของเยอรมันแบบดั้งเดิม ที่เป็นจุดขายของร้านเท่านั้น แต่ยังต้องรวมไปถึงความรวดเร็วในการให้บริการที่ต้องทันกับความต้องการ ของลูกค้า
โจทย์เหล่านี้ถูกโยนให้กับสุธรรม ธีระวัฒนชัย น้องชายที่ร่ำเรียนทางสายงานด้านคอมพิวเตอร์มา ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงดอกเตอร์ และเป็นนักวิจัยที่เคยทำงานอยู่ในเนคเทค ที่เข้ามาช่วยสร้างระบบบริหารร้าน โดยใช้ระบบไอทีเป็นเครื่องมือตั้งแต่เริ่มต้นเปิดร้านเมื่อ 3 ปีที่แล้ว
แม้ว่าระบบไอทีที่ใช้บริหารร้านอาหารก้าวไปถึงขั้นการใช้ระบบ Touch Screen แต่สำหรับที่นี่เป็นเพียงระบบปฏิบัติการยุคเก่าอย่างระบบ DOS ธรรมดาๆ ที่ เชื่อมโยงข้อมูลภายในร้าน แต่เมื่อพวกเขานำมาใช้อย่างเหมาะสมก็สามารถบริหารร้านอาหารขนาดใหญ่นี้ได้อย่างดี
กลไกการบริหารร้าน ที่มีระบบไอที มาประยุกต์ แบ่งออกเป็น 3 จุดหลักๆ ทันทีที่พนักงานรับออร์เดอร์อาหารจากลูกค้า จะนำไปให้แคชเชียร์เพื่อลงบันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ซึ่งออร์เดอร์จะแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ตั้งแต่เลขที่นั่งโต๊ะ รหัส อาหาร รหัสบริกร รหัสแคชเชียร์ วัน เวลา จำนวน ราคาต่อหน่วย จากนั้นจะพิมพ์ออก มาเป็นใบออร์เดอร์ ขั้นตอนที่ว่านี้เรียกว่า print order waiter
กรณีที่เป็นเครื่องดื่ม พนักงานจะนำ ออร์เดอร์มาที่แคชเชียร์ เพื่อลงบันทึกรายการ ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ และพิมพ์ออกมาเป็นรายการ เพื่อนำเครื่องดื่มออกจากจุดออกของและนำมาเสิร์ฟให้กับลูกค้าได้ทันที ซึ่งจุดออกของจะออกให้เฉพาะออร์เดอร์ ที่ออกมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์จากแคชเชียร์เท่านั้น
หากเป็นรายการอาหาร ออร์เดอร์อาหารของลูกค้าจะออนไลน์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของแคชเชียร์ ไปยังห้องครัวโดยตรง ไม่ต้องผ่านพนักงานบริกร ซึ่งครัวของที่นี่จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ครัวนึ่ง ครัวเผา และครัวใหญ่ ฐานข้อมูลรหัสอาหารที่แยกตามประเภทของอาหาร จะทำให้ออร์เดอร์ถูกส่งผ่านไปตามประเภทของครัวอย่างเหมาะสมได้ทันที
ด้วยระบบเหล่านี้ไม่เพียงช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานระหว่างพนักงานบริกร แคชเชียร์ และครัว ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับร้านอาหารขนาดใหญ่ มีที่นั่ง 1,200 ที่นั่ง และมีลูกค้าหมุนเวียนเข้ามา 2,000-3,000 คน
กลไกที่ว่านี้นอกจากทำให้เกิดความแม่นยำ ไม่ผิดพลาด ยังรวมไปถึงความรวดเร็ว ที่ทำให้พวกเขาสามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้ภายในเวลา 10 นาที ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สุพจน์กำหนดไว้ ตั้งแต่ลูกค้าสั่งออร์เดอร์จนอาหารมาถึงโต๊ะภายในเวลาอันสั้น
นอกจากนี้ ฐานข้อมูลที่ถูกบันทึก อยู่ในคอมพิวเตอร์ไม่เพียงช่วยให้เกิดความ รวดเร็วและแม่นยำในการรับออร์เดอร์จากลูกค้า โดยใช้รหัสของข้อมูลมาเป็นตัวช่วย แต่ยังรวมไปถึงการบริหารคลังสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตเบียร์ ที่ถือเป็นสินค้าหลักของร้าน
สุพจน์ยกตัวอย่าง การที่เขาไม่เพียง แต่รู้ยอดขายในแต่ละวันได้ทันที แต่ยังสามารถคาดการณ์ยอดขายในแต่ละวันได้ล่วงหน้า
"เราสามารถรู้แม้กระทั่งว่าแก้วใส่เบียร์ทรงไหนขายดี จะได้เตรียมคนล้างแก้วได้ทัน หรือช่วงเวลาไหนลูกค้าจะเข้ามาเยอะ หรือโซนไหน พื้นที่ไหนที่ลูกค้านั่งแช่นานที่สุด"
การรับรู้ข้อมูลปริมาณการบริโภคเบียร์ของลูกค้าที่รวดเร็วจากการใช้ฐานข้อมูลเหล่านี้ จะทำให้การจัดเตรียมวัตถุดิบ เพื่อใช้ผลิตเบียร์ ที่ต้องนำเข้าจากประเทศเยอรมนี ซึ่งต้องใช้เวลา 1 เดือนครึ่ง กว่าที่วัตถุดิบเหล่านี้จะมาถึงไทย เพื่อจัดสรรได้อย่างเหมาะสม
"เราจะรู้ได้ทันทีว่า วันนี้เราขายเบียร์ ได้เท่าไร ตัวไหนขายดีกว่าเพื่อน เนื่องจาก เบียร์ต้องเตรียมการผลิตล่วงหน้า 1 เดือน ข้อมูลต้องส่งให้ Brew Master ซึ่งจะต้องคำนวณได้ว่าแผนการผลิตต่อจากนี้จะเป็น อย่างไร"
ฐานข้อมูลจากระบบไอทีแบบธรรมดา ไม่ได้ช่วยในเรื่องการผลิตเบียร์เท่านั้น แต่รวมไปถึงการจัดเตรียมวัตถุดิบที่ใช้ผลิตอาหาร ข้อมูลที่ระบุถึงจำนวนลูกค้าในแต่ละวัน และค่าเฉลี่ยการบริโภคของลูกค้าแต่ละราย ปริมาณการขายเหล่านี้จะส่งผลถึงการจัดเตรียมวัตถุดิบให้พอเพียงกับการใช้งานในแต่ละวัน จะมีผลต่อคุณภาพความสดของอาหาร การเตรียม กำลังคน และการบริหารต้นทุนอย่างเห็นผล
ข้อมูลที่สามารถระบุถึงช่วงเวลาหนาแน่นที่สุดที่ลูกค้าใช้บริการ และมีจำนวนเท่าใด ช่วงเวลาไหนที่ขายดีที่สุด ผลที่ตามมาก็คือ การจัดกำลังคน วัตถุดิบ ที่ต้องถูกจัดเตรียมพร้อมไว้แล้ว
การคาดการณ์ในลักษณะนี้ ทำให้การจัดสรรวัตถุดิบถูกแบ่งตามปริมาณการขายในแต่ละสัปดาห์ ที่จะแบ่งออกเป็นช่วงศุกร์ เสาร์ จะเป็นวัตถุดิบหมวด A ซึ่งจำเป็นต้องจัดเตรียมวัตถุดิบไว้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่อาทิตย์และจันทร์ ซึ่งมีปริมาณน้อยที่สุด อยู่ในหมวด B ส่วนวันอังคาร พุธ และพฤหัส จะเป็นหมวด C ซึ่งมีความต้องการรองลงมา
นั่นไม่สำคัญเท่ากับว่าข้อมูลการขายเหล่านี้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านการตลาด เช่น การทดสอบตลาดกรณีที่ออกเมนูใหม่ๆ ว่าได้รับการตอบรับแค่ไหนหรือ เมนูไหนที่ขายดี แม้แต่การจัดกิจกรรมร่วมกับสมาชิกของโรงเบียร์ตะวันแดงที่มีอยู่ 4,000 ราย ที่จะได้มาจากค่าความถี่ของการใช้บริการของสมาชิก
"ประเด็นสำคัญ คือ การเตรียมคน ช่วงไหนอาหารขายดี สมาชิกใช้บริการเฉลี่ยเท่าไร ช่วงไหนพื้นที่ไหนลูกค้านั่งแช่นานที่สุด การตอบรับของเมนูใหม่ๆ มีค่าเฉลี่ยอยู่เท่าไร เช่น ถ้าเราขายได้ 10 จาน ต่อลูกค้า 1,000 คน ก็ถือว่าโอเคแล้วสำหรับ การเริ่มต้น"
แต่กว่าระบบจะลงตัวได้ สุพจน์บอกว่า ต้องใช้เวลาปรับปรุงแก้ไขอยู่ถึง 6 เดือนเต็ม ใช้เงินไปประมาณ 5 แสนบาท เพื่อซื้อซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์ และพรินเตอร์ในการสร้างระบบ การรับพนักงาน
"ถ้าไม่มีระบบไอทีมาช่วย เราก็ไม่สามารถขยายร้านได้ขนาดนี้ ระบบ Manual ใช้ได้ แต่ไม่ได้เรื่องความเร็ว และ ความแม่นยำ ถ้าเป็นร้านเล็กๆ ก็ทำได้ แต่ ถ้าเป็นร้านขนาดใหญ่ ระบบไอทีเป็นเรื่องจำเป็น"
ปัจจุบันโรงเบียร์ตะวันแดงอยู่ระหว่าง การศึกษาเพื่อเปลี่ยนจากระบบ DOS มาเป็นระบบ Window เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์มากขึ้น เช่น ระบบไดเร็กต์เมล์ไปถึงลูกค้า เป็นเรื่องที่จะขยายต่อไป
และนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จของโรงเบียร์ตะวันแดง ที่ความสำเร็จ ของโรงเบียร์แห่งนี้ไม่ได้อยู่ที่กลิ่นอายของเบียร์เยอรมัน รสชาติอาหารแบบไทยๆ บวกผสมด้วยบรรยากาศของวงฟองน้ำ เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการใช้ระบบไอทีมาสร้างระบบจัดการภายในอย่างเห็นผล ก็เป็นเรื่องจำเป็นไม่แพ้กัน